กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ประกาศศักดา ร่วมงาน Expo Milano 2015, Italy สื่ออิตาลียอมรับ อาคารแสดงประเทศไทยสุดเจ๋ง

ความเป็นมาของงานมหกรรม World Exposition

งานนิทรรศการนานาชาติ (International Registered Exhibition) หรือ งานมหกรรมโลก (The World Exposition) เรียกสั้นๆ ว่างาน World Expo มีการจัดต่อเนื่องมาอย่างยาวนานกว่า 160 ปี โดยมีประเทศต่างๆ หมุนเวียนเสนอตัวเป็นเจ้าภาพ เป็นงานที่ยิ่งใหญ่งานหนึ่งของมวลมนุษยชาติ ถือเป็นงานใหญ่อันดับ 3 ของโลก รองจากงานมหกรรมกีฬาโอลิมปิก และการแข่งขันฟุตบอลโลก ซึ่งานมหกรรมโลกจะมีการจัดงานทุกห้าปี มีระยะเวลาในการจัดงานไม่เกิน 6 เดือน

การจัดงาน World Expo อยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานมหกรรมโลก (Bureau of International Expositionsหรือ BIE ซึ่งเป็นองค์กรที่จัดตั้งขึ้เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2471 (ค.ศ. 1928) ภายใต้อนุสัญญา Paris Convention ขององค์การสันนิบาตชาติ (League of Nation) และการเข้าร่วมงานจะต้องเป็นการดำเนินงานระหว่างรัฐต่อรัฐเป็นหลัก มีสำนักงานใหญ่ตั้งอยู่ ณ กรุงปารีส สาธารณรัฐฝรั่งเศส ปัจจุบันมีสมาชิกถึง 168 ประเทศ และราชอาณาจักรไทย เข้าเป็นสมาชิก เมื่อวันที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2536 (ค.ศ. 1993)

ในปลายยุคของการปฏิวัติอุตสาหกรรม งาน World Expo ถือกำเนิดขึ้นเป็นครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2394 (ค.ศ.1851) ณ กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ในรัชสมัยของสมเด็จพระนางเจ้าวิคตอเรีย ภายใต้แนวคิด “Industry of All Nations” ซึ่งจัดขึ้นเพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติให้แก่เจ้าชาย Albert พระสวามีผู้ซึ่งสนพระทัยในการเปลี่ยนแปลงด้านอุตสาหกรรม และความเป็นอยู่ของผู้ใช้แรงงาน เวลานั้นประเทศอังกฤษ                    มีความก้าวหน้าด้านการใช้เครื่องจักรไอน้ำในกระบวนการอุตสาหกรรม มีการผลิตสินค้าต่างๆ ในระบบโรงงาน เมื่อระบบอุตสาหกรรมพัฒนาก้าวหน้าขึ้น ประเทศมหาอำนาจต่างๆ จึงขยับขยายเข้าสู่ยุคการล่าอาณานิคมเพื่อหาแหล่งวัตถุดิบแรงงาน และตลาดของสินค้าที่ผลิตขึ้น ในยุคแรกเริ่มของการจัดงาน World Expo ประเทศอังกฤษและประเทศฝรั่งเศสจะผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเป็นผู้จัด และเป็นที่นิยมแพร่หลาย จนขยายไปถึงทวีปอเมริกา งานWorld Expo มีพัฒนาการและเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลา

หลังยุคแห่งการปฏิวัติอุตสาหกรรม เริ่มเข้าสู่ยุคแห่งการคิดค้นสิ่งประดิษฐ์ต่างๆ ทั้งทางวิทยาการ      ทางวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยีได้ถูกนำมาจัดแสดงในงานนี้ในช่วงศตวรรษที่ 19 ถึงศตวรรษที่ 20                งาน World Expo เป็นการจัดแสดงสิ่งประดิษฐ์คิดค้นใหม่ๆ ไม่ว่าจะเป็นสิ่งก่อสร้างทางสถาปัตยกรรม เครื่องจักร เครื่องโทรคมนาคม ระบบขนส่งมวลชนสาธารณะ และหลายสิ่งหลายอย่างที่เราได้ใช้ในชีวิตประจำวันส่วนใหญ่ ได้ถูกนำเสนอ จัดแสดง และพัฒนามาจากที่ได้เคยแสดงให้ปรากฎในงาน 
World Expo ในอดีตมาแล้วทั้งสิ้น เช่น พระราชวังคริสตัล หอไอเฟล สะพานโกลเด้นท์เกต รถไฟหัวจักรไอน้ำ รถไฟเครื่องยนต์ีเซล รถไฟฟ้า รถไฟฟ้าความเร็วสูง รถยนต์ เรือกลไฟ เรือดำน้ำ บัลลูน ยานอวกาศ หลอดไฟฟ้า โทรเลข โทรศัพท์ โทรศัพท์ไร้สาย โทรทัศน์ขาวดำโทรทัศน์สี กล้องถ่ายภาพนิ่ง กล้องถ่ายภาพยนตร์ และ ฟิล์มถ่ายภาพทั้งขาว - ดำและสี ลิฟท์โดยสาร และขนส่ง ตลอดจนสิ่งใกล้ตัวที่เราใช้และบริโภคกันอยู่ในปัจจุบัน เช่น ชิงช้าสวรรค์ ถุงน่อง ซิป เครื่องดื่มน้ำอัดลม ไอศครีมโซดา ฮอตด็อก แฮมเบอร์เกอร์ และอีกมากมาย เหล่านี้เป็นต้ 

 

ช่วงปลายศตวรรษที่ 20 เข้าสู่ศตวรรษที่ 21ในปัจจุบัน สำนักงานมหกรรมโลก หรือ BIE ได้กำหนด
ให้งาน World Expo มีแนวความคิดหลักการจัดงานที่เกี่ยวกับสภาพต่างๆ ที่มีผลกระทบกับความเป็นอยู่                ของมวลมนุษยชาติมากยิ่งขึ้นจากผลของการประชุมEarth Summit ที่เมืองรีโอเดจาเนโร สหพันธ์สาธารณรัฐบราซิล เมื่อปี พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) และเมื่อโลกเริ่มเผชิญกับสภาวะเสื่อมถอยทางสภาพแวดล้อมซึ่งมีผลกระทบต่อการดำรงอยู่ของมนุษย์ ไม่ว่าจะเป็นสภาวะเรือนกระจก ความเสื่อมโทรมของสภาพดิน 
การถดถอยของความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม การเพิ่มของจำนวนประชากรโลก และความมั่นคงทางอาหาร

งานมหกรรมโลก The World Exposition ถือเป็นงานที่แสดงถึงความสำเร็จ ความสามารถ และ      ความยิ่งใหญ่ของมวลมนุษยชาติที่แสดงให้เห็นถึงศักยภาพทางความคิดสร้างสรรค์ และการประดิษฐ์คิดค้น    เป็นเวทีแห่งการประชันขันแข่งความก้าวหน้าในทุกด้าน ทั้งทางด้านเศรษฐกิจสังคม ด้านนวัตกรรม               ด้านวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี แม้กระทั่งวิวัฒนาการทางวัฒนธรรม ซึ่งแสดงให้เป็นที่ประจักษ์ว่าโลกของเรา        ได้ก้าวไปข้างหน้าเสมออย่างไม่เคยหยุดยั้ง

 

จุดเริ่มต้นของประเทศไทยในการเข้าร่วมงาน World Expo ครั้งแรก

ผลจากการปฏิวัติอุตสาหกรรมของชาติมหาอำนาจทางซีกโลกตะวันตกก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ จากประเทศกสิกรรมมาเป็นประเทศอุตสาหกรรม เกิดความต้องการใน การขยายตลาดสินค้า ขยายพื้นที่           ในการแสวงหาแหล่งวัตุดิบ ทั้งยังเป็นต้นกำเนิดของการล่าอาณานิคมในซีกโลกตะวันออก เพื่อการเป็นมหาอำนาจทางอุตสาหกรรม และเศรษฐกิจการค้า

แนวความคิดหลัก (MAIN THEME) ในการจัดแสดงนิทรรศการงาน Expo Milano 2015, Italy 
ของประเทศไทย

 

การจัดงาน Expo Milano 2015 ณ เมืองมิลาน ประเทศอิตาลี กำหนดแนวคิดหลัก (Main Theme) ของการจัดงาน ว่า “Feeding the Planet, Energy for Life : อาหารหล่อเลี้ยงโลก พลังงานหล่อเลี้ยงชีวิต    ซึ่งเชื่อมโยงกับการพัฒนาแห่งสหัสวรรษขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Millennium Development Goals) และเกี่ยวข้องกับความมั่นคงและยั่งยืนของอาหารแห่งมนุษยชาติในอนาคต  เพื่อสร้างประสบการณ์อันหลากหลายที่นำมาซึ่งความประทับใจแก่ผู้เข้าชมงาน

ในส่วนของการจัดห้องแสดงนิทรรศการเพื่อให้สอดคล้องกับแนวความคิดหลัก Feeding the Planet, Energy for life : อาหารหล่อเลี้ยงโลก พลังงานหล่อเลี้ยงชีวิต” นั้น ประเทศไทยแบ่งนิทรรศการออกเป็น 5โซน

โซนที่ 1 ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ จิตวิญญาณความเป็นไทย รากฐานการเป็นครัวไทยสู่ครัวโลก แสดงศักยภาพของเกษตรกรไทย ให้เกิดความภาคภูมิใจ

โซนที่ 2 สวรรณภูมิ ทรัพย์ในดิน สินในน้ำ ของชาวไทย เป็นบ่อเกิดของมรดกทางภูมิปัญญาจากความหลากหลายของทรัพยากรและสภาพแวดล้อม

โซนที่ 3 ครัวไทยสู่ครัวโลก สร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพของผลิตภัณฑ์อาหารและวัตถุดิบจากไทย ที่มีมาตราฐานระดับสากล ที่    ทั่วโลกไม่อาจมองข้ามได้

โซนที่ 4 กษัตริย์แห่งเกษตร King of Agricultureกษัตริย์แห่งการเกษตร ปราชญ์แหงดินและน้ำ ผู้ทรงงานมากมายเพื่อเกษตรกรชาวไทยอย่างไม่เคยหยุดยั้ง จนทั่วโลกให้การยกย่อง

โซนที่ อาหารแห่งอนาคตผลิตภัณฑ์อาหารสำหรับอนาคตจะต้องเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐานและปลอดภัยแก่ผู้บริโภคทุกระดับ เป็นนวัตกรรมที่ทันสมัยในการแปรรูป และการถนอมอาหารสารพัดรูปแบบ ด้วยการใช้เทคโนโลยีในการถนอม การเก็บรักษาและบรรจุหีบห่อเป็นอาหารที่ดีกับสุขภาพอย่างแท้จริง เป็นนวัตกรรมอาหารสำเร็จรูปที่พร้อมรับประทานได้ทันทีอย่างสะดวกรวดเร็วโดยแทบไม่ต้องมีการเตรียมใดๆ


ความคิดเห็น