“เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป” หรือ RNN เปิดเวทีเชิญ “กูรูระดับโลก” ถอนบทเรียนการปฏิรูปในต่างประเทศท่ามกลางความขัดแย้ง
เครือข่ายหน้าหน้าปฎิรูป หรือ RNN- Reform Now Network จัดเสวนา “เวทีความคิดเพื่อการปฏิรูปประเทศไทย” ครั้งที่ 3 หัวข้อเรียนรู้ประสบการณ์ บทเรียนกระบวนการปฏิรูปภายใต้สถานการณ์ความขัดแย้งของต่างประเทศ” เมื่อ 27 ก.พ. ณ โรงแรมสุโกศล โดยเชิญวิทยากรระดับโลกที่เคยมีประสบการณ์งานเจรจาท่ามกลางความขัดแย้งมาร่วมแบ่งปันประสบการณ์จากประเทศต่างๆ คือ
1.ดร.ไมเคิล วาติคิโอติส ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคเอเชีย Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ถอดบทเรียนกระบวนการปฏิรูปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.ดร.คาเทียน พาพาจิอานนี ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยและฝ่ายนโยบาย Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ถอดบทเรียนจากการใช้กระบวนการสานเสวนาแห่งชาติ ( National Dialogue Process) และ 3.มร.อดัม คาเฮน นักออกแบบกระบวนการ ReosPartners ถอดบทเรียนการดำเนินการปฏิรูปเชิงระบบภายใต้สภาวะที่มีความขัดแย้งสูง
ดร.ไมเคิล มองกระบวนการปฏิรูปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยึดโยงกับวิกฤตการณ์ทางการเมือง ที่ชนชั้นนำหรือฝ่ายถืออำนาจทางการเมืองมักถูกกดดันให้ต้องปฏิรูปจากการชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่องหรือเมื่อเกิดวิกฤตจะมีการปฏิรูปเกิดขึ้น โดยนำประสบการณ์การปฏิรูปของอินโดนีเซียในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการลุกฮือของประชาชนที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจากการคอบงำของเผด็จการทหารของประธานาธิบดีซูอาโต (พ.ศ. 2542-2547) มาเป็นตัวอย่าง
โดยเมื่อประธานาธิบดีฮาบีบีเข้ามาในอำนาจแทนซูฮาโต ได้แก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยการปฏิรูป ตั้ง “สภาแห่งชาติ” ที่มีคณะกรรมการปฏิรูป 7 คน คัดเลือกมาจากข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญมาขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมาย แก้ไขกฎเกณฑ์การเลือกตั้งและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารราชการ โดยใช้รัฐสภาเป็นเวทีในการหาฉันทามติของตัวแทนคนทั้งประเทศ แม้กระบวนการนี้จะไม่สามารถทำให้เกิดการมีส่วนร่มของประชาชนได้ในวงกว้าง แต่ถือเป็นการวางรากฐานเพื่อการปฏิรูปประเทศที่สามารถเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความขัดแย้ง และมาจากความพยายามทีจะสร้างบรรยากาศให้เกิดทางออกจากวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจ
ดร.ไมเคิลสรุปบทเรียนที่ได้จากการปฏิรูปของอินโดนีเซียว่า เป็นกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองในวงเล็กๆ โดยใช้เวทีสภาแห่งชาติที่มีคณะกรรมการเพียง 7 คน ดำเนินการโดยไม่มีการแนะนำจากบุคคลภายนอก และไม่มีการเปิดเวทีสาธารณะ หรือการเปิดให้มีส่วนร่วมน้อยมาก โดยทีมงานทั้ง 7 คนจะทำงานกันอย่างเงียบๆ ในการปรับแก้กฎหมายต่างๆ เมื่อส่งผ่านกระบวนการรัฐสภาเรียบร้อยแล้วถึงจะประกาศออกมา ทั้งนี้ กระบวนการของอินโดนีเซียทำให้ไม่ใช้เวลามากในการปฎิรูปและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้สถานการณ์การเมืองอินโดนีเซียมั่นคงมากขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้
ขณะที่ดร.คาเทีย นำเสนอบทเรียนที่แตกต่างไปจากกระบวนของประเทศอินโดนีเซีย แต่น่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกที่แนวทางหนึ่งที่อาจเหมาะสมกับประเทศไทย คือ การใช้กระบวนการสานเสวนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นการปฏิรูปในลักษณะองค์รวม ที่ใช้กันในหลายประเทศที่เกิดวิกฤตการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง หรือ มีความขัดแย้งในขณะที่ภาคการเมืองอ่อนแอ โดยใช้กันมากในหลายประเทศในตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน เยเมน เป็นต้น
โดยกระบวนการสานเสวนาแห่งชาติ จะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกคนทุกระดับและทุกภาคส่วนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและร่วมกันปรึกษาหารือในเรื่องการปฏิรูปและพัฒนาประเทศ มีการคัดเลือกตัวแทนจากกลุ่มการเมือง ทหาร ประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ ผู้หญิง เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป โดยมีคณะทำงานเป็นผู้เปิดเวที เชื่อมโยงเนื้อหาและสรุปผลเพื่อกรั่นกรองออกมาเป็นวิสัยทัศน์ร่วมของคนในประเทศ นำไปสู่การทำประชามติ หรือการแก้ไขกฎหมายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป
การเริ่มกระบวนการนี้มีหลักเบื้องต้นที่ต้องคำนึงถึงคือ จะริเริ่มกระบวนการอย่างไร จะพูดคุยในประเด็นใดบ้าง สามารถนำตัวแทนจากผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มการเมืองและกลุ่มทางสังคมเข้มามีส่วนร่วมได้ทั่วถึงครอบคลุมเพียงพอหรือไม่ มีความตื่นตัวทางการเมืองของสาธารณะหรือไร และอะไรจะเป็นตัวชี้วัดว่ากระบวนการสานเสวนานั้นมีประสิทธิภาพ
“ล่าสุด เยเมนนำกระบวนการได้กล่าวไปใช้ได้จริง มีการจัดทำกระบวนการเสวนาที่นำไปสู่การตัดสินใจ ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นกระบวนการมาได้ 1 เดือนแล้วก็ต้องดูต่อไปว่ากระบวนการนี้จะมีพลังแค่ไหน” ดร.คาเทียกล่าว
สำหรับบทเรียนที่ได้จากการทำกระบวนการเสวนาแห่งชาติ นางคาเทียสรุปว่า กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาเป็นสำคัญ และการออกแบบการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ความสัมพันธ์กับภาครัฐให้ชัดเจนถึงจะทำให้กระบวนการนี้เดินหน้าต่อไปได้ และการตั้งเป้าหมายของกระบวนการนี้จะต้องเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริง และสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจ
ด้านมร.อดัม กล่าวถึงประสบการณ์ทำงาน 20 ปีกับ 25 ประเทศทั่วโลกว่า เมื่อสังคมเผชิญกับปัญหาที่ความขัดแย้งสูงและซับซ้อนมากกว่าที่เคยประสบมา จะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการค่อย แก้ไปทีละเปลาะ ด้วยการบังคับ หรือด้วยการประยุกต์ให้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ มาใช้ แต่ทางออกจากปัญหามีทางเดียวคือ ต้องคิดอย่างเป็นระบบและเป็นความคิดที่มาจากการมีส่วนร่วม
เขาบอกว่า เช่นเดียวกับการปฏิรูประเทศในระดับโครงสร้างให้ได้ผล ต้องการมากกว่าข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป แต่ต้องการการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง และต้องการความมีส่วนร่วมของทั้งฝ่ายรัฐบาลและองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ ซึ่งกระบวนการที่สามารถนำมาใช้ได้ในสถานการณ์นี้เรียกว่า “ Social Lap” หรือ ห้องปฏิบัติการสังคม เป็นกระบวนการที่ส่งผลกระทบทั้งระบบ ออกแบบมาเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ได้มาซึ่งเป้าหมายและแผนปฏิบัติการการปฏิรูปร่วมกัน
มร.อดัมระบุว่า จากการทำงานกับคนไทยมาปีกว่า มีประสบการณ์ที่มีนัยสำคัญสำหรับฝากถึงคนไทยทุกคนว่า จากประสบการณ์ของที่ทำงานมาหลายประเทศได้พิสูจน์ชัดว่า การปฏิรูปโครงสร้างบนสถานการณ์ความขัดแย้งสูงและมีความซับซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่การต่อสู้โดยไม่เจรจา และต่อสู้เพื่อพยายามเอาชนะศัตรู ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่การต่อสู้ผ่านการเจรจาสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง
และเส้นทางของการปฏิรูปต้องใช้ความอดทน เพราะเส้นทางนั้นไม่มีเส้นทางลัด แต่คุณต้องไม่รอและไม่จำเป็นต้องรอคอยให้สถานการณ์นิ่งแล้วจึงเริ่มปฏิรูป แต่คุณสามารถเริ่มปฏิรูปประเทศได้เลยตั้งแต่เดี๋ยวนี้ทันที
“จากประสบการณ์ 15 ปีในลาติอเมริกา ที่เวเนซุเอลาซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งเหมือนไทย พบว่า การชนะศัตรูได้ ไม่ได้เป็นแนวทางที่จะชนะอย่างจริงจัง และไม่ว่าชนะหรือไม่ไม่ใช่ทางเลือก การชนะอาจดูเป็นวีระบุรุษ ซึ่งฟังดูดี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง วิธีที่แก้ปัญหาคือการเจรจาให้บรรลุผลและประสบผลสำเร็จของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”มร.อดัมกล่าว
ดรฺกิตติพงศ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงการยุติธรรม สมาชิกเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป ตั้งข้อสังเกต จาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไว้น่าสนใจในคือ เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปตระหนักดีว่า ปัญหาของประเทศไทยคนไทยต้องแก้เอง รูปแบบหรือกระบวนการที่ดำเนินการในต่างประเทศเป็นเพียงบทเรียน ไม่มีสูตรตายตัวสำหรับประเทศไทย อาทิการทำกระบวนการสานเสวนา สถานการณ์ในประเทศไทยอาจยังไม่ไปถึงจุดนั้น เพราะบริบทของประเทศไทยเราไม่มีบรรยากาศของการปรองดอง และขาดความไว้ใจกัน เอาอาจต้องมาคุยกันมากขึ้น และเปิดใจกว้างมากขึ้นว่า ทำอย่างไรให้คนในประเทศอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ใช้ความรุนแรง
“ผู้เชี่ยวชาญทุกคนเห็นตรงกันว่า การปฎิรูปจะเกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้ง สำหรับประเทศไทยการจะนำไปสู่การปฏิรูปได้อาจต้องรอให้คู่ขัดแย้งหมดแรง หรือเกิดหายนะขึ้นก่อน ถึงจะเกิดการเจรจาเพื่อปฏิรูป แต่เรารอไม่ได้ เราต้องเริ่มปฏิรูปทันที” ดร.กิตติพงษ์กล่าว
1.ดร.ไมเคิล วาติคิโอติส ผู้อำนวยการฝ่ายภูมิภาคเอเชีย Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ถอดบทเรียนกระบวนการปฏิรูปในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 2.ดร.คาเทียน พาพาจิอานนี ผู้อำนวยการฝ่ายสนับสนุนการทำหน้าที่ผู้ไกล่เกลี่ยและฝ่ายนโยบาย Centre for Humanitarian Dialogue (HDC) ถอดบทเรียนจากการใช้กระบวนการสานเสวนาแห่งชาติ ( National Dialogue Process) และ 3.มร.อดัม คาเฮน นักออกแบบกระบวนการ ReosPartners ถอดบทเรียนการดำเนินการปฏิรูปเชิงระบบภายใต้สภาวะที่มีความขัดแย้งสูง
ดร.ไมเคิล มองกระบวนการปฏิรูปในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยึดโยงกับวิกฤตการณ์ทางการเมือง ที่ชนชั้นนำหรือฝ่ายถืออำนาจทางการเมืองมักถูกกดดันให้ต้องปฏิรูปจากการชุมนุมประท้วงอย่างต่อเนื่องหรือเมื่อเกิดวิกฤตจะมีการปฏิรูปเกิดขึ้น โดยนำประสบการณ์การปฏิรูปของอินโดนีเซียในช่วงหลังวิกฤตต้มยำกุ้ง ซึ่งเกิดขึ้นควบคู่ไปกับการลุกฮือของประชาชนที่เรียกร้องให้มีการเปลี่ยนแปลงจากการคอบงำของเผด็จการทหารของประธานาธิบดีซูอาโต (พ.ศ. 2542-2547) มาเป็นตัวอย่าง
โดยเมื่อประธานาธิบดีฮาบีบีเข้ามาในอำนาจแทนซูฮาโต ได้แก้ไขวิกฤตการณ์ด้วยการปฏิรูป ตั้ง “สภาแห่งชาติ” ที่มีคณะกรรมการปฏิรูป 7 คน คัดเลือกมาจากข้าราชการและผู้เชี่ยวชาญมาขับเคลื่อนการปฏิรูปกฎหมาย แก้ไขกฎเกณฑ์การเลือกตั้งและปรับเปลี่ยนโครงสร้างการบริหารราชการ โดยใช้รัฐสภาเป็นเวทีในการหาฉันทามติของตัวแทนคนทั้งประเทศ แม้กระบวนการนี้จะไม่สามารถทำให้เกิดการมีส่วนร่มของประชาชนได้ในวงกว้าง แต่ถือเป็นการวางรากฐานเพื่อการปฏิรูปประเทศที่สามารถเกิดขึ้นได้ท่ามกลางความขัดแย้ง และมาจากความพยายามทีจะสร้างบรรยากาศให้เกิดทางออกจากวิกฤตการเมืองและเศรษฐกิจ
ดร.ไมเคิลสรุปบทเรียนที่ได้จากการปฏิรูปของอินโดนีเซียว่า เป็นกระบวนการปฏิรูปทางการเมืองในวงเล็กๆ โดยใช้เวทีสภาแห่งชาติที่มีคณะกรรมการเพียง 7 คน ดำเนินการโดยไม่มีการแนะนำจากบุคคลภายนอก และไม่มีการเปิดเวทีสาธารณะ หรือการเปิดให้มีส่วนร่วมน้อยมาก โดยทีมงานทั้ง 7 คนจะทำงานกันอย่างเงียบๆ ในการปรับแก้กฎหมายต่างๆ เมื่อส่งผ่านกระบวนการรัฐสภาเรียบร้อยแล้วถึงจะประกาศออกมา ทั้งนี้ กระบวนการของอินโดนีเซียทำให้ไม่ใช้เวลามากในการปฎิรูปและทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่รวดเร็วทำให้สถานการณ์การเมืองอินโดนีเซียมั่นคงมากขึ้นจนถึงปัจจุบันนี้
ขณะที่ดร.คาเทีย นำเสนอบทเรียนที่แตกต่างไปจากกระบวนของประเทศอินโดนีเซีย แต่น่าจะเป็นการเพิ่มทางเลือกที่แนวทางหนึ่งที่อาจเหมาะสมกับประเทศไทย คือ การใช้กระบวนการสานเสวนาแห่งชาติ ซึ่งเป็นการปฏิรูปในลักษณะองค์รวม ที่ใช้กันในหลายประเทศที่เกิดวิกฤตการเปลี่ยนผ่านทางการเมือง หรือ มีความขัดแย้งในขณะที่ภาคการเมืองอ่อนแอ โดยใช้กันมากในหลายประเทศในตะวันออกกลาง อัฟกานิสถาน เยเมน เป็นต้น
โดยกระบวนการสานเสวนาแห่งชาติ จะเปิดพื้นที่ให้ประชาชนทุกคนทุกระดับและทุกภาคส่วนเข้ามาแสดงความคิดเห็นและร่วมกันปรึกษาหารือในเรื่องการปฏิรูปและพัฒนาประเทศ มีการคัดเลือกตัวแทนจากกลุ่มการเมือง ทหาร ประชาชนสาขาอาชีพต่างๆ รวมทั้งกลุ่มชาติพันธุ์ คนชายขอบ ผู้หญิง เยาวชนเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิรูป โดยมีคณะทำงานเป็นผู้เปิดเวที เชื่อมโยงเนื้อหาและสรุปผลเพื่อกรั่นกรองออกมาเป็นวิสัยทัศน์ร่วมของคนในประเทศ นำไปสู่การทำประชามติ หรือการแก้ไขกฎหมายที่ตอบสนองความต้องการของประชาชนต่อไป
การเริ่มกระบวนการนี้มีหลักเบื้องต้นที่ต้องคำนึงถึงคือ จะริเริ่มกระบวนการอย่างไร จะพูดคุยในประเด็นใดบ้าง สามารถนำตัวแทนจากผู้มีส่วนได้เสีย กลุ่มการเมืองและกลุ่มทางสังคมเข้มามีส่วนร่วมได้ทั่วถึงครอบคลุมเพียงพอหรือไม่ มีความตื่นตัวทางการเมืองของสาธารณะหรือไร และอะไรจะเป็นตัวชี้วัดว่ากระบวนการสานเสวนานั้นมีประสิทธิภาพ
“ล่าสุด เยเมนนำกระบวนการได้กล่าวไปใช้ได้จริง มีการจัดทำกระบวนการเสวนาที่นำไปสู่การตัดสินใจ ขณะนี้ได้ดำเนินการเสร็จสิ้นกระบวนการมาได้ 1 เดือนแล้วก็ต้องดูต่อไปว่ากระบวนการนี้จะมีพลังแค่ไหน” ดร.คาเทียกล่าว
สำหรับบทเรียนที่ได้จากการทำกระบวนการเสวนาแห่งชาติ นางคาเทียสรุปว่า กระบวนการนี้ขึ้นอยู่กับการเจรจาเป็นสำคัญ และการออกแบบการมีส่วนร่วม นอกจากนี้ต้องมีการกำหนดขอบเขตอำนาจหน้าที่ความสัมพันธ์กับภาครัฐให้ชัดเจนถึงจะทำให้กระบวนการนี้เดินหน้าต่อไปได้ และการตั้งเป้าหมายของกระบวนการนี้จะต้องเป็นเป้าหมายที่ทำได้จริง และสื่อสารกับประชาชนให้เข้าใจ
ด้านมร.อดัม กล่าวถึงประสบการณ์ทำงาน 20 ปีกับ 25 ประเทศทั่วโลกว่า เมื่อสังคมเผชิญกับปัญหาที่ความขัดแย้งสูงและซับซ้อนมากกว่าที่เคยประสบมา จะไม่สามารถแก้ไขได้ด้วยการค่อย แก้ไปทีละเปลาะ ด้วยการบังคับ หรือด้วยการประยุกต์ให้วิธีการแก้ปัญหาแบบเดิมๆ มาใช้ แต่ทางออกจากปัญหามีทางเดียวคือ ต้องคิดอย่างเป็นระบบและเป็นความคิดที่มาจากการมีส่วนร่วม
เขาบอกว่า เช่นเดียวกับการปฏิรูประเทศในระดับโครงสร้างให้ได้ผล ต้องการมากกว่าข้อเสนอเพื่อการปฏิรูป แต่ต้องการการลงมือสร้างความเปลี่ยนแปลงให้เกิดขึ้นจริง และต้องการความมีส่วนร่วมของทั้งฝ่ายรัฐบาลและองค์กรที่ไม่ใช่ของรัฐ ซึ่งกระบวนการที่สามารถนำมาใช้ได้ในสถานการณ์นี้เรียกว่า “ Social Lap” หรือ ห้องปฏิบัติการสังคม เป็นกระบวนการที่ส่งผลกระทบทั้งระบบ ออกแบบมาเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วม เป็นแพลตฟอร์มที่ช่วยให้ได้มาซึ่งเป้าหมายและแผนปฏิบัติการการปฏิรูปร่วมกัน
มร.อดัมระบุว่า จากการทำงานกับคนไทยมาปีกว่า มีประสบการณ์ที่มีนัยสำคัญสำหรับฝากถึงคนไทยทุกคนว่า จากประสบการณ์ของที่ทำงานมาหลายประเทศได้พิสูจน์ชัดว่า การปฏิรูปโครงสร้างบนสถานการณ์ความขัดแย้งสูงและมีความซับซ้อนสามารถเกิดขึ้นได้จริง แต่การต่อสู้โดยไม่เจรจา และต่อสู้เพื่อพยายามเอาชนะศัตรู ไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ขณะที่การต่อสู้ผ่านการเจรจาสามารถนำไปใช้แก้ปัญหาได้จริง
และเส้นทางของการปฏิรูปต้องใช้ความอดทน เพราะเส้นทางนั้นไม่มีเส้นทางลัด แต่คุณต้องไม่รอและไม่จำเป็นต้องรอคอยให้สถานการณ์นิ่งแล้วจึงเริ่มปฏิรูป แต่คุณสามารถเริ่มปฏิรูปประเทศได้เลยตั้งแต่เดี๋ยวนี้ทันที
“จากประสบการณ์ 15 ปีในลาติอเมริกา ที่เวเนซุเอลาซึ่งมีปัญหาความขัดแย้งเหมือนไทย พบว่า การชนะศัตรูได้ ไม่ได้เป็นแนวทางที่จะชนะอย่างจริงจัง และไม่ว่าชนะหรือไม่ไม่ใช่ทางเลือก การชนะอาจดูเป็นวีระบุรุษ ซึ่งฟังดูดี แต่ไม่สามารถแก้ปัญหาได้จริง วิธีที่แก้ปัญหาคือการเจรจาให้บรรลุผลและประสบผลสำเร็จของการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน”มร.อดัมกล่าว
ดรฺกิตติพงศ์ กิตยารักษ์ ปลัดกระทรวงการยุติธรรม สมาชิกเครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป ตั้งข้อสังเกต จาการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นไว้น่าสนใจในคือ เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูปตระหนักดีว่า ปัญหาของประเทศไทยคนไทยต้องแก้เอง รูปแบบหรือกระบวนการที่ดำเนินการในต่างประเทศเป็นเพียงบทเรียน ไม่มีสูตรตายตัวสำหรับประเทศไทย อาทิการทำกระบวนการสานเสวนา สถานการณ์ในประเทศไทยอาจยังไม่ไปถึงจุดนั้น เพราะบริบทของประเทศไทยเราไม่มีบรรยากาศของการปรองดอง และขาดความไว้ใจกัน เอาอาจต้องมาคุยกันมากขึ้น และเปิดใจกว้างมากขึ้นว่า ทำอย่างไรให้คนในประเทศอยู่ร่วมกันได้โดยไม่ใช้ความรุนแรง
“ผู้เชี่ยวชาญทุกคนเห็นตรงกันว่า การปฎิรูปจะเกิดขึ้นเมื่อมีความขัดแย้ง สำหรับประเทศไทยการจะนำไปสู่การปฏิรูปได้อาจต้องรอให้คู่ขัดแย้งหมดแรง หรือเกิดหายนะขึ้นก่อน ถึงจะเกิดการเจรจาเพื่อปฏิรูป แต่เรารอไม่ได้ เราต้องเริ่มปฏิรูปทันที” ดร.กิตติพงษ์กล่าว
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น