อธิบดี MOU กับ ซิป้า....จับมือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ เปิดยุทธศาสตร์ใหม่ส่งเสริมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ไทย
ซิป้าจับมือกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
เปิดยุทธศาสตร์ใหม่ส่งเสริมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ไทย
เดินแผนดึงลูกค้าและคู่ค้าเข้าประเทศหลังโครงการทดลองประสบความสำเร็จ
พร้อมบูมตลาดในประเทศสนับสนุนอย่างทั่วถึงทุกราย*
นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว
ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องคการมหาชน) หรือ SIPA
เปิดเผยว่า
การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง SIPA กับ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือ DITP
ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ดิจิทัลคอนเทนต์ไทย
ครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์
ของไทย เพราะถือเป็นสัญญาณของความมุ่งมั่นในการที่จะนำพาซอฟต์แวร์ไทย
ให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลกให้ได้
ปีที่ผ่านมา SIPA
ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการนำซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทยไปหาผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศทั่วทุกทวีป
แต่กลยุทธ์นี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดผู้ซื้อ แต่ข้อเสียก็คือ
ใช้ต้นทุนในการดำเนินการสูงมาก
ขณะที่บริษัทซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยที่จะออกไปรุกตลาดต่างประเทศได้ต้องแข็งแกร่งและมีศักยภาพที่เพียงพอก่อน
ดังนั้นจึงมีจำนวนน้อยรายที่จะสามารถเป็นตัวแทนของประเทศดังกล่าวได้
ในรอบปีที่ผ่านมา SIPA ได้เดินกลยุทธ์ใหม่
มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยหันมาใช้ In-Bound
Marketing มากขึ้น โดยการนำส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ
เข้ามาในประเทศเพื่อเจรจากับซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทยแทน
เนื่องจากสิ่งที่ SIPA เห็นก็คือ ซอฟต์แวร์และ
ดิจิทัลในแต่ละกลุ่มนั้นมีความแตกต่างในความต้องการ ความถนัด
และลักษณะเครือข่ายพันธมิตรที่จะเชื่อมโยง
นั้น SIPA จึงได้นำทั้งกลุ่มที่เป็นเจ้าของนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขเข้ามาเจรจาทางธุรกิจกับซอฟต์แวร์ไทยที่กำลังต้องการต่อเชื่อมเทคโนโลยีของตนเองกับพันธมิตรในตลาดเอเชีย
มีการนำกลุ่มที่ต้องการด้านดิจิทัลคอนเทนต์เข้ามาเจรจาทางธุรกิจกับผู้ผลิตในประเทศที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย
ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ มีการนำกลุ่มทั้งนักลงทุนญี่ปุ่น
และกลุ่มที่ต้องการมาสร้างฐานซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเพื่อเป็นฐานสู่ AEC
มาเจรจาเพื่อหาพันธมิตรร่วมกับนักพัฒนาในประเทศไทย
จนในที่สุดก็คือการที่ SIPA จัดงาน Software Expo Asia 2013 และ SIPA
ยังยืนยันว่าจะมีงานใหญ่ระดับภูมิภาคเช่นนี้ต่อไปในประเทศไทย
โดยจะเป็นงานนิทรรศการระดับ ภูมิภาคที่ทุกคนต้องกล่าวถึง และยังจะมีงานย่อยๆ
เกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายการเจรจาทางธุรกิจซอฟต์แวร์ในภูมิภาค
นี้มาอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นจะเห็นว่าทิศทางการ In-Bound ของ SIPA
จะมีทิศทางที่สำคัญในการยกระดับวงการซอฟต์แวร์ของไทยทั้งระบบ
ไม่ได้คิดจะส่งเสริมแต่เฉพาะรายที่มีความพร้อมเท่านั้น
นั้นการเซ็นสัญญาร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในครั้งนี้ต่อไปอีก
3 ปีจึงมีความ
สำคัญอย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ของ SIPA เพราะทาง DITP
จะเป็นหน่วยงานที่คัดเลือก Connection
หรือครือข่ายการเชื่อมโยงต่างๆ และนำความต้องการหรือ Demand
จากตลาดต่างประเทศที่ตรงกับความสามารถของวงการซอฟต์แวร์ลิจิทัลคอนเทนต์ไทยเข้ามา
และยังจะช่วยโปรโมทงานกิจกรรมหรือ Event ต่างๆ ที่ SIPA จะพัฒนาขึ้นมา
ทำให้ตลาดต่างประเทศได้รู้จักและเข้ามาเข้าร่วม
การตลาดทั้ง In-Bound และ Out-Bound ทาง DITP
จะเข้ามาเป็นพันธมิตรที่สำคัญและร่วมกัน
กำหนดน้ำหนักการส่งเสริมในแต่ละช่วง ตามแต่สถานการณ์ที่เหมาะสม
ซึ่งจะทำให้ทิศทางการส่งเสริมซอฟต์แวร์ไทยไปยังตลาดต่างประเทศมีความชัดเจน
และเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการสามารถหยิบใช้
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP
เปิดเผยว่า ความร่วมมือของ SIPA และ DITP
ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์นั้น
ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมงานกันมาตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา
โดยได้ลงนามบันทึกความร่วมฉบับแรกในปี 2549
มีการวางยุทธศาสตร์และดำเนินกลยุทธ์ร่วมกันด้วยดีตลอดมา
ขณะที่ปัจจุบันดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ของไทยถือเป็นธุรกิจบริการดาวรุ่งของประเทศ
สามารถทำรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี
ฝีมือและคุณภาพของคอมพิวเตอร์กราฟิกและดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย
ทำให้ไทยมีชื่อเสียงกว้างขวางในระดับโลก
"ที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตผลงานที่ปรากฏในฮอลลีวูดมากมาย
ตลอดจนได้รับรางวัลในการประกวดเวทีโลก เช่น เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
ในขณะเดียวกันซอฟต์แวร์ด้านเอ็นเตอร์ไพร์ซของไทยก็ได้รับความสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกเช่นกัน"นางศรีรัตน์กล่าว
*ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันฉบับใหม่
ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ครั้งนี้
ในส่วนของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะเข้ามาเพิ่มการให้ความสำคัญกับบทบาทการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อการขยายตลาดต่างประเทศ
และการส่งเสริมธุรกิจแบบครบวงจร
รวมทั้งการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในต่างประเทศให้ดึขึ้น
เพื่อนำความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสู่ประเทศต่อไป*
เปิดยุทธศาสตร์ใหม่ส่งเสริมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ไทย
เดินแผนดึงลูกค้าและคู่ค้าเข้าประเทศหลังโครงการทดลองประสบความสำเร็จ
พร้อมบูมตลาดในประเทศสนับสนุนอย่างทั่วถึงทุกราย*
นายไตรรัตน์ ฉัตรแก้ว
ผู้อำนวยการสำนักงานอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์แห่งชาติ (องคการมหาชน) หรือ SIPA
เปิดเผยว่า
การร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือระหว่าง SIPA กับ
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ หรือ DITP
ในด้านการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมซอฟต์แวร์
ดิจิทัลคอนเทนต์ไทย
ครั้งนี้ถือว่ามีความสำคัญอย่างมากกับผู้ประกอบการซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์
ของไทย เพราะถือเป็นสัญญาณของความมุ่งมั่นในการที่จะนำพาซอฟต์แวร์ไทย
ให้ประสบความสำเร็จในตลาดโลกให้ได้
ปีที่ผ่านมา SIPA
ดำเนินกลยุทธ์ทางการตลาดด้วยการนำซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทยไปหาผู้ซื้อในตลาดต่างประเทศทั่วทุกทวีป
แต่กลยุทธ์นี้มีทั้งข้อดีและข้อเสีย
ข้อดีคือเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับตลาดผู้ซื้อ แต่ข้อเสียก็คือ
ใช้ต้นทุนในการดำเนินการสูงมาก
ขณะที่บริษัทซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ของไทยที่จะออกไปรุกตลาดต่างประเทศได้ต้องแข็งแกร่งและมีศักยภาพที่เพียงพอก่อน
ดังนั้นจึงมีจำนวนน้อยรายที่จะสามารถเป็นตัวแทนของประเทศดังกล่าวได้
ในรอบปีที่ผ่านมา SIPA ได้เดินกลยุทธ์ใหม่
มีการเปลี่ยนแปลงยุทธศาสตร์อย่างที่ไม่เคยทำมาก่อน โดยหันมาใช้ In-Bound
Marketing มากขึ้น โดยการนำส่วนที่เกี่ยวข้องกับซอฟต์แวร์ในด้านต่างๆ
เข้ามาในประเทศเพื่อเจรจากับซอฟต์แวร์และดิจิทัลคอนเทนต์ไทยแทน
เนื่องจากสิ่งที่ SIPA เห็นก็คือ ซอฟต์แวร์และ
ดิจิทัลในแต่ละกลุ่มนั้นมีความแตกต่างในความต้องการ ความถนัด
และลักษณะเครือข่ายพันธมิตรที่จะเชื่อมโยง
นั้น SIPA จึงได้นำทั้งกลุ่มที่เป็นเจ้าของนวัตกรรมใหม่ๆ ทางด้านการแพทย์และ
สาธารณสุขเข้ามาเจรจาทางธุรกิจกับซอฟต์แวร์ไทยที่กำลังต้องการต่อเชื่อมเทคโนโลยีของตนเองกับพันธมิตรในตลาดเอเชีย
มีการนำกลุ่มที่ต้องการด้านดิจิทัลคอนเทนต์เข้ามาเจรจาทางธุรกิจกับผู้ผลิตในประเทศที่มีความเชี่ยวชาญหลากหลาย
ทั้งรายเล็กและรายใหญ่ มีการนำกลุ่มทั้งนักลงทุนญี่ปุ่น
และกลุ่มที่ต้องการมาสร้างฐานซอฟต์แวร์ในประเทศไทยเพื่อเป็นฐานสู่ AEC
มาเจรจาเพื่อหาพันธมิตรร่วมกับนักพัฒนาในประเทศไทย
จนในที่สุดก็คือการที่ SIPA จัดงาน Software Expo Asia 2013 และ SIPA
ยังยืนยันว่าจะมีงานใหญ่ระดับภูมิภาคเช่นนี้ต่อไปในประเทศไทย
โดยจะเป็นงานนิทรรศการระดับ ภูมิภาคที่ทุกคนต้องกล่าวถึง และยังจะมีงานย่อยๆ
เกิดขึ้นอีกในประเทศไทย
เพื่อส่งเสริมให้เกิดการเคลื่อนย้ายการเจรจาทางธุรกิจซอฟต์แวร์ในภูมิภาค
นี้มาอยู่ในประเทศไทย ดังนั้นจะเห็นว่าทิศทางการ In-Bound ของ SIPA
จะมีทิศทางที่สำคัญในการยกระดับวงการซอฟต์แวร์ของไทยทั้งระบบ
ไม่ได้คิดจะส่งเสริมแต่เฉพาะรายที่มีความพร้อมเท่านั้น
นั้นการเซ็นสัญญาร่วมกับกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศในครั้งนี้ต่อไปอีก
3 ปีจึงมีความ
สำคัญอย่างยิ่งต่อยุทธศาสตร์ของ SIPA เพราะทาง DITP
จะเป็นหน่วยงานที่คัดเลือก Connection
หรือครือข่ายการเชื่อมโยงต่างๆ และนำความต้องการหรือ Demand
จากตลาดต่างประเทศที่ตรงกับความสามารถของวงการซอฟต์แวร์ลิจิทัลคอนเทนต์ไทยเข้ามา
และยังจะช่วยโปรโมทงานกิจกรรมหรือ Event ต่างๆ ที่ SIPA จะพัฒนาขึ้นมา
ทำให้ตลาดต่างประเทศได้รู้จักและเข้ามาเข้าร่วม
การตลาดทั้ง In-Bound และ Out-Bound ทาง DITP
จะเข้ามาเป็นพันธมิตรที่สำคัญและร่วมกัน
กำหนดน้ำหนักการส่งเสริมในแต่ละช่วง ตามแต่สถานการณ์ที่เหมาะสม
ซึ่งจะทำให้ทิศทางการส่งเสริมซอฟต์แวร์ไทยไปยังตลาดต่างประเทศมีความชัดเจน
และเป็นเครื่องมือที่ผู้ประกอบการสามารถหยิบใช้
นางศรีรัตน์ รัษฐปานะ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ หรือ DITP
เปิดเผยว่า ความร่วมมือของ SIPA และ DITP
ในการส่งเสริมและพัฒนาอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์นั้น
ทั้งสองหน่วยงานได้ร่วมงานกันมาตลอดระยะเวลาเกือบสิบปีที่ผ่านมา
โดยได้ลงนามบันทึกความร่วมฉบับแรกในปี 2549
มีการวางยุทธศาสตร์และดำเนินกลยุทธ์ร่วมกันด้วยดีตลอดมา
ขณะที่ปัจจุบันดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ของไทยถือเป็นธุรกิจบริการดาวรุ่งของประเทศ
สามารถทำรายได้หลายพันล้านบาทต่อปี
ฝีมือและคุณภาพของคอมพิวเตอร์กราฟิกและดิจิทัลคอนเทนต์ของไทย
ทำให้ไทยมีชื่อเสียงกว้างขวางในระดับโลก
"ที่ผ่านมาประเทศไทยผลิตผลงานที่ปรากฏในฮอลลีวูดมากมาย
ตลอดจนได้รับรางวัลในการประกวดเวทีโลก เช่น เทศกาลภาพยนตร์เมืองคานส์
ในขณะเดียวกันซอฟต์แวร์ด้านเอ็นเตอร์ไพร์ซของไทยก็ได้รับความสนใจจากหลายประเทศทั่วโลกเช่นกัน"นางศรีรัตน์กล่าว
*ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงร่วมกันฉบับใหม่
ที่จะมุ่งเน้นการพัฒนาศักยภาพและขีดความสามารถทางการแข่งขันของอุตสาหกรรมดิจิทัลคอนเทนต์และซอฟต์แวร์ครั้งนี้
ในส่วนของกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศจะเข้ามาเพิ่มการให้ความสำคัญกับบทบาทการพัฒนาผู้ประกอบการเพื่อการขยายตลาดต่างประเทศ
และการส่งเสริมธุรกิจแบบครบวงจร
รวมทั้งการบูรณาการร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรในต่างประเทศให้ดึขึ้น
เพื่อนำความรุ่งเรืองทางเศรษฐกิจสู่ประเทศต่อไป*
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น