สถาบันองค์ความรู้ด้านการค้าระหว่างประเทศ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
จัดเวทีสัมมนา "เจาะลึกตลาด ASEAN Plus & Emerging Market"
ชี้ช่องทางและโอกาสทางการค้าสู่ตลาด
ASEAN Plus - จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และตลาดเกิดใหม่หรือ Emerging Market -
ยุโรปตะวันออก
ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มในการเติบโตสูง
โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมแบ่งปันประสบการณ์และให้ความรู้ในเชิงลึกในแต่ละตลาด
30 กันยายน 2556 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด (รัชดาภิเษก)
ร้อยเอก สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมุ่งสู่โลกการค้าเสรีมากขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยและอาเซียนมีการเปิดเสรีการค้าตามข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ
ในภูมิภาค รวมทั้งการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในอีก 2 ปี
ข้างหน้า
นับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศของไทยที่จะใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงนี้เป็นเครื่องมือในการผลักดันสินค้าและบริการสู่ตลาดเป้าหมายใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง
จัดเวทีสัมมนา "เจาะลึกตลาด ASEAN Plus & Emerging Market"
ชี้ช่องทางและโอกาสทางการค้าสู่ตลาด
ASEAN Plus - จีน ญี่ปุ่น อินเดีย และตลาดเกิดใหม่หรือ Emerging Market -
ยุโรปตะวันออก
ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
ซึ่งเป็นตลาดเป้าหมายที่มีศักยภาพและมีแนวโน้มในการเติบโตสูง
โดยเชิญผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมแบ่งปันประสบการณ์และให้ความรู้ในเชิงลึกในแต่ละตลาด
30 กันยายน 2556 ณ โรงแรมสวิสโฮเต็ล เลอ คองคอร์ด (รัชดาภิเษก)
ร้อยเอก สุวิพันธุ์ ดิษยมณฑล รองอธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจการค้าระหว่างประเทศมุ่งสู่โลกการค้าเสรีมากขึ้น
โดยเฉพาะเมื่อประเทศไทยและอาเซียนมีการเปิดเสรีการค้าตามข้อตกลงเอฟทีเอกับประเทศต่างๆ
ในภูมิภาค รวมทั้งการรวมตัวของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซี ในอีก 2 ปี
ข้างหน้า
นับเป็นโอกาสสำคัญสำหรับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศของไทยที่จะใช้ประโยชน์จากการเชื่อมโยงนี้เป็นเครื่องมือในการผลักดันสินค้าและบริการสู่ตลาดเป้าหมายใหม่ที่มีศักยภาพการเติบโตสูง
"การส่งออกที่พึ่งพาเฉพาะกลุ่มประเทศตลาดหลักดั้งเดิมอย่างสหรัฐอเมริกาและยุโรป
นับเป็นความเสี่ยงเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านี้
ส่งผลให้ตลาดส่งออกเกิดการชะลอตัวไปตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่ตลาดใหม่อย่างตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา
เป็นกลุ่มประเทศที่มีประชากรจำนวนมากและเริ่มมีกำลังซื้อสูง
รวมถึงมีความต้องการในการบริโภคสินค้าอีกเป็นจำนวนมาก
แต่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจในตลาดดังกล่าวไม่มากนัก"
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ได้กำหนดกลยุทธ์การขยายการส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายใหม่ของไทยที่มีศักยภาพสูง
รวมทั้งรักษาส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดดั้งเดิมอันได้แก่ สหรัฐอเมริกา และยุโรป
ซึ่งกำหนดไว้เป็นแผนปฏิบัติการส่งเสริมการส่งออกในปี
2556-2558โดยจะเน้นเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนรายภูมิภาค รายประเทศ
และรายสินค้ามากขึ้น
ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนมากที่สุด รองลงมา คือ อาเซียนพลัส 6
ซึ่งจะเน้นประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน
ทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
รวมไปถึงตลาดใหม่ที่มีศักยภาพได้แก่ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
นับเป็นความเสี่ยงเมื่อเกิดวิกฤตเศรษฐกิจภายในประเทศเหล่านี้
ส่งผลให้ตลาดส่งออกเกิดการชะลอตัวไปตามภาวะเศรษฐกิจ
ขณะที่ตลาดใหม่อย่างตะวันออกกลาง ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา
เป็นกลุ่มประเทศที่มีประชากรจำนวนมากและเริ่มมีกำลังซื้อสูง
รวมถึงมีความต้องการในการบริโภคสินค้าอีกเป็นจำนวนมาก
แต่ผู้ประกอบการไทยส่วนใหญ่ยังให้ความสนใจในตลาดดังกล่าวไม่มากนัก"
ทั้งนี้ กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ได้กำหนดกลยุทธ์การขยายการส่งออกไปยังตลาดเป้าหมายใหม่ของไทยที่มีศักยภาพสูง
รวมทั้งรักษาส่วนแบ่งตลาดของไทยในตลาดดั้งเดิมอันได้แก่ สหรัฐอเมริกา และยุโรป
ซึ่งกำหนดไว้เป็นแผนปฏิบัติการส่งเสริมการส่งออกในปี
2556-2558โดยจะเน้นเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนรายภูมิภาค รายประเทศ
และรายสินค้ามากขึ้น
ทั้งนี้จะให้ความสำคัญกับตลาดอาเซียนมากที่สุด รองลงมา คือ อาเซียนพลัส 6
ซึ่งจะเน้นประเทศที่เป็นคู่เจรจาของอาเซียน
ทั้งจีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์
รวมไปถึงตลาดใหม่ที่มีศักยภาพได้แก่ ตะวันออกกลาง แอฟริกา และยุโรปตะวันออก
ปัจจุบันประเทศจีนกลายเป็นคู่ค้าอันดับหนึ่งของไทย
และเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญและเติบโตเร็วที่สุดในโลก
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกและผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลก
โดยในปีที่ผ่านมาไทยส่งออกสินค้าไปยังจีนคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 26,869
ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดีได้แก่ เคมีภัณฑ์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ
สำหรับแผนและกลยุทธ์เร่งรัดการส่งออกในปีนี้
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเน้นเจาะลึกรายสินค้าและรายตลาดที่มีศักยภาพ
โดยเฉพาะตลาด ASEAN Plus 6 ซึ่งอาเซียนมีความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA กับ 6
ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ซึ่งมีขนาดและมูลค่าการตลาดที่สูงมาก มีจำนวนประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน
คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรโลก มีขนาด GDP คิดเป็นร้อยละ 22 ของ GDP ของโลก
ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดเหล่านี้โดยใช้สิทธิประโยชน์การลดภาษีจากความตกลงการค้าเสรี
ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
มีนโยบายสนับสนุนการขยายตลาดในประเทศเหล่านี้โดยจะมีการสร้างช่องทางการค้าใหม่ๆ
เช่น การจัดมินิเอ็กซิบิชั่นในญี่ปุ่น การเปิด E-Thailand ในเว็บไซต์
T-Mall ของจีน
และส่งเสริมการค้าออนไลน์ผ่าน Thaitrade.com ในจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นตลาดเกิดใหม่ หรือที่เราเรียกว่า Emerging Market
สำหรับตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกที่มีศักยภาพสูง
(Emerging Eastern Europe) เช่น สาธารณรัฐเชก ฮังการี โปแลนด์ และรัสเซีย ฯลฯ
ส่วนในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และแอฟริกา เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี
อิหร่าน แอฟริกาใต้ อียิปต์ ไนจีเรีย และลิเบีย โดยในเมื่อเร็วๆ
นี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดกิจกรรมสนับสนุนการขยายตลาดภายใต้กิจกรรม
Thailand Week Roadshow เจรจาการค้าในรัสเซีย รวมถึงการเข้าถึงผู้ซื้อแบบ
Knock-door
ในตลาดเหล่านี้ด้วย
สำหรับสินค้าที่มีโอกาสหรือได้รับความสนใจเป็นอย่างดีในตลาดเหล่านี้ เช่น
ชิ้นส่วนยานยนต์ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ฯลฯ
สำหรับสินค้าที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน,
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์, น้ำมันสำเร็จรูป, อัญมณีและเครื่องประดับ, ยางพารา,
ผลิตภัณฑ์ยางพารา, เหล็ก, เครื่องจักรกล, แผงวงจรไฟฟ้า,
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ, อาหารทะเลกระป๋อง, ข้าว, น้ำตาลทราย
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น
และเป็นหนึ่งในประเทศที่เป็นเขตเศรษฐกิจที่สำคัญและเติบโตเร็วที่สุดในโลก
นอกจากนี้ยังเป็นผู้ส่งออกและผู้นำเข้ารายใหญ่ของโลก
โดยในปีที่ผ่านมาไทยส่งออกสินค้าไปยังจีนคิดเป็นมูลค่าการส่งออก 26,869
ล้านเหรียญสหรัฐ
โดยกลุ่มสินค้าที่ขยายตัวได้ดีได้แก่ เคมีภัณฑ์ ยางพารา ผลิตภัณฑ์ยาง
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง อิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบ
สำหรับแผนและกลยุทธ์เร่งรัดการส่งออกในปีนี้
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศเน้นเจาะลึกรายสินค้าและรายตลาดที่มีศักยภาพ
โดยเฉพาะตลาด ASEAN Plus 6 ซึ่งอาเซียนมีความตกลงการค้าเสรี หรือ FTA กับ 6
ประเทศ คือ จีน ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ อินเดีย ออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ซึ่งมีขนาดและมูลค่าการตลาดที่สูงมาก มีจำนวนประชากรรวมกันกว่า 3,300 ล้านคน
คิดเป็นร้อยละ 50 ของจำนวนประชากรโลก มีขนาด GDP คิดเป็นร้อยละ 22 ของ GDP ของโลก
ซึ่งเป็นโอกาสที่ดีสำหรับผู้ประกอบการไทยในการขยายตลาดเหล่านี้โดยใช้สิทธิประโยชน์การลดภาษีจากความตกลงการค้าเสรี
ซึ่งกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
มีนโยบายสนับสนุนการขยายตลาดในประเทศเหล่านี้โดยจะมีการสร้างช่องทางการค้าใหม่ๆ
เช่น การจัดมินิเอ็กซิบิชั่นในญี่ปุ่น การเปิด E-Thailand ในเว็บไซต์
T-Mall ของจีน
และส่งเสริมการค้าออนไลน์ผ่าน Thaitrade.com ในจีน อินเดีย ญี่ปุ่น เป็นต้น
นอกจากนี้ยังมุ่งเน้นตลาดเกิดใหม่ หรือที่เราเรียกว่า Emerging Market
สำหรับตลาดเกิดใหม่ในยุโรปตะวันออกที่มีศักยภาพสูง
(Emerging Eastern Europe) เช่น สาธารณรัฐเชก ฮังการี โปแลนด์ และรัสเซีย ฯลฯ
ส่วนในกลุ่มประเทศตะวันออกกลาง และแอฟริกา เช่น สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ตุรกี
อิหร่าน แอฟริกาใต้ อียิปต์ ไนจีเรีย และลิเบีย โดยในเมื่อเร็วๆ
นี้กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศได้จัดกิจกรรมสนับสนุนการขยายตลาดภายใต้กิจกรรม
Thailand Week Roadshow เจรจาการค้าในรัสเซีย รวมถึงการเข้าถึงผู้ซื้อแบบ
Knock-door
ในตลาดเหล่านี้ด้วย
สำหรับสินค้าที่มีโอกาสหรือได้รับความสนใจเป็นอย่างดีในตลาดเหล่านี้ เช่น
ชิ้นส่วนยานยนต์ ข้าว และอาหารทะเลกระป๋องและแปรรูป ฯลฯ
สำหรับสินค้าที่ไทยมีมูลค่าการส่งออกมากที่สุด ได้แก่ รถยนต์และชิ้นส่วน,
คอมพิวเตอร์และอุปกรณ์, น้ำมันสำเร็จรูป, อัญมณีและเครื่องประดับ, ยางพารา,
ผลิตภัณฑ์ยางพารา, เหล็ก, เครื่องจักรกล, แผงวงจรไฟฟ้า,
เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ, อาหารทะเลกระป๋อง, ข้าว, น้ำตาลทราย
ผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง เป็นต้น
กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ
ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ
เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการที่ประเทศไทยมีความร่วมมือและเชื่อมโยงทางการค้ากับประเทศต่างๆ
ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจการเติบโตสูง อย่าง จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย
รวมทั้งผลักดันการขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ตะวันออกกลาง
ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา
ซึ่งเป็นกลุ่มภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตสูงรองจากเอเชีย
งานสัมมนา "เจาะลึกตลาด ASEAN Plus & Emerging Market" ในวันนี้
มีผู้ประกอบการให้ความสนใจกว่า 600 ราย
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
ร่วมรับฟังข้อมูลในเชิงลึกในทุกมิติของการค้าระหว่างประเทศ
ทั้งด้านช่องทางการขยายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
แนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการ และอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าต่างๆ
สัมมนาช่วงเช้า เปิดประเด็นปาฐกถาพิเศษโดย คุณไพรัช บูรพชัยศรี
รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในหัวข้อ "เปิดมุมมองการค้าเชิงรุกสู่ตลาด ASEAN
Plus" และหัวข้อที่น่าสนใจอื่นๆ อาทิ "รู้เขา รู้เรา
สร้างโอกาสการค้าและการลงทุนในตลาด ASEAN Plus", "ชิงความได้เปรียบในตลาดการค้า
ASEAN Plus ด้วยสิทธิประโยชน์ FTA", "ช่องทาง SMEs ไทยก้าวสู่ตลาด ASEAN Plus"
ช่วงบ่าย "รู้ลัด รู้ลึก พร้อมเปิดกลยุทธ์การเจาะตลาดเป้าหมาย"
เจาะลึกตลาดรายกลุ่มประเทศ
อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
โดยผู้มีประสบการณ์ในการทำการค้าในประเทศนั้นๆ อาทิ คุณสาธิต เซกัล
นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย และประธานบริษัทในเครือเซกัลกรุ๊ป คุณสุวรรณชัย
โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คุณวิบูลย์
สุภัครพงษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร การตลาดต่างประเทศสายธุรกิจสัตว์น้ำ
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คุณสถิตย์ มโนปัญจสิริ
ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
และคุณวิจักร วิเศษน้อย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
ในฐานะที่มีบทบาทสำคัญในการสร้างขีดความสามารถในการแข่งขันให้กับผู้ประกอบการค้าระหว่างประเทศ
เล็งเห็นความสำคัญในการส่งเสริมให้ภาคธุรกิจสามารถใช้ประโยชน์สูงสุดจากการที่ประเทศไทยมีความร่วมมือและเชื่อมโยงทางการค้ากับประเทศต่างๆ
ที่มีแนวโน้มเศรษฐกิจการเติบโตสูง อย่าง จีน ญี่ปุ่น และอินเดีย
รวมทั้งผลักดันการขยายตลาดใหม่ที่มีศักยภาพในภูมิภาคอื่นๆ เช่น ตะวันออกกลาง
ยุโรปตะวันออก และแอฟริกา
ซึ่งเป็นกลุ่มภูมิภาคที่มีอัตราการเติบโตสูงรองจากเอเชีย
งานสัมมนา "เจาะลึกตลาด ASEAN Plus & Emerging Market" ในวันนี้
มีผู้ประกอบการให้ความสนใจกว่า 600 ราย
โดยเฉพาะผู้ประกอบการขนาดกลางและขนาดย่อม
ร่วมรับฟังข้อมูลในเชิงลึกในทุกมิติของการค้าระหว่างประเทศ
ทั้งด้านช่องทางการขยายธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ
แนวโน้มความต้องการสินค้าและบริการ และอุปสรรคข้อกีดกันทางการค้าต่างๆ
สัมมนาช่วงเช้า เปิดประเด็นปาฐกถาพิเศษโดย คุณไพรัช บูรพชัยศรี
รองประธานกรรมการหอการค้าไทย ในหัวข้อ "เปิดมุมมองการค้าเชิงรุกสู่ตลาด ASEAN
Plus" และหัวข้อที่น่าสนใจอื่นๆ อาทิ "รู้เขา รู้เรา
สร้างโอกาสการค้าและการลงทุนในตลาด ASEAN Plus", "ชิงความได้เปรียบในตลาดการค้า
ASEAN Plus ด้วยสิทธิประโยชน์ FTA", "ช่องทาง SMEs ไทยก้าวสู่ตลาด ASEAN Plus"
ช่วงบ่าย "รู้ลัด รู้ลึก พร้อมเปิดกลยุทธ์การเจาะตลาดเป้าหมาย"
เจาะลึกตลาดรายกลุ่มประเทศ
อินเดีย จีน ญี่ปุ่น ยุโรปตะวันออก ตะวันออกกลาง และแอฟริกา
โดยผู้มีประสบการณ์ในการทำการค้าในประเทศนั้นๆ อาทิ คุณสาธิต เซกัล
นายกสมาคมธุรกิจอินเดีย-ไทย และประธานบริษัทในเครือเซกัลกรุ๊ป คุณสุวรรณชัย
โลหะวัฒนกุล ผู้อำนวยการ สถาบันพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม คุณวิบูลย์
สุภัครพงษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการบริหาร การตลาดต่างประเทศสายธุรกิจสัตว์น้ำ
บริษัท ซีพีเอฟ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) คุณสถิตย์ มโนปัญจสิริ
ผู้ช่วยผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไทยยูเนี่ยน โฟรเซ่น โปรดักส์ จำกัด (มหาชน)
และคุณวิจักร วิเศษน้อย อดีตอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ
ผลจากการสัมมนาครั้งนี้ คาดว่า
ผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
ลดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในตลาดเหล่านี้
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน
ต่อยอดจากความตกลงทางการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าต่างๆ
เพื่อผลิตและส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดเป้าหมายที่มีอนาคตอันสดใส
ผู้ประกอบธุรกิจการค้าระหว่างประเทศสามารถนำความรู้ที่ได้รับไปพัฒนาการประกอบธุรกิจให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลดียิ่งขึ้น
ลดปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินธุรกิจการค้าระหว่างประเทศในตลาดเหล่านี้
เพื่อเตรียมความพร้อมในการเชื่อมโยงการค้า การลงทุน
ต่อยอดจากความตกลงทางการค้าของไทยกับประเทศคู่ค้าต่างๆ
เพื่อผลิตและส่งออกสินค้าไปสู่ตลาดเป้าหมายที่มีอนาคตอันสดใส
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น