ภาคเอกชนในเอเชียผลักดันการเติบโตอย่างรู้รับผิดชอบและการพัฒนาอย่างครอบคลุม เตรียมพร้อมสำหรับการประชุมสุดยอด CSR Asia Summit
20 ปีที่ผ่านมา หลายประเทศในเอเชียเติบโตและเปลี่ยนแปลงไปอย่างรวดเร็วซึ่งเป็นผลมาจากแรงผลักดันที่ได้รับจากการดำเนินธุรกิจของทุกภาคส่วน ขณะเดียวกัน การเจริญเติบโตของประเทศต่างๆ เหล่านี้ก็สร้างคุณประโยชน์ต่างตอบแทนให้กับภาคธุรกิจและยกระดับคุณภาพชีวิตของคนหลายร้อยล้านคนให้หลุดพ้นจากความยากจนด้วยเช่นกัน แต่การเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วนี้เองที่เป็นตัวปะทุประเด็นปัญหาต่างๆ ที่เรามิได้คาดการณ์ไว้ก่อนล่วงหน้า เช่น ความไม่เท่าเทียมกันที่เพิ่มมากขึ้น การทำงานร่วมกันทางสังคม ความเป็นชุมชนเมืองที่เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว ความท้าทายด้านสิ่งแวดล้อม การขาดแคลนน้ำ และภัยพิบัติทางธรรมชาติ
ประเด็นดังกล่าวส่งผลให้ธุรกิจในเอเชียต่างกำลังเผชิญกับคำถามที่ยากจะหาคำตอบ - จะเป็นไปได้อย่างไรที่จะสร้างความเจริญเติบโตให้เกิดขึ้นอย่างรู้รับผิดชอบ เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาเศรษฐกิจจะกระจายไปสู่วงกว้าง และทุกคนสามารถเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตได้อย่างทั่วถึง บริษัทชั้นนำสามแห่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้มารวมตัวกันเพื่อหารือเกี่ยวกับแนวทางปฏิบัติให้กับภาคเอกชนนำไปประยุกต์ใช้ และเฝ้ารอการประชุมสุดยอด CSR Asia Summit ซึ่งจะจัดขึ้นที่กรุงเทพฯ เป็นครั้งแรกในรอบสี่ปีในเดือนกันยายนนี้
การพูดถึงประเด็นทางสังคม เช่น ประเด็นที่เกี่ยวกับสิทธิมนุษยชน ความยั่งยืนของสิ่งแวดล้อม และการกำกับดูแลองค์กรไม่ใช่เรื่องที่จะทำได้ง่าย แต่การแสดงออกถึงความตระหนักต่อประเด็นเหล่านี้จะช่วยให้จุดยืนในการแข่งขันทางธุรกิจขององค์กรดีขึ้นโดยการลดความเสี่ยงและสร้างมูลค่าของแบรนด์ให้สูงขึ้น "จุดเริ่มต้นคือต้องมองธุรกิจหลักขององค์กรและวิธีการดำเนินธุรกิจนั้นๆ ผ่านการมีส่วนร่วมกับผู้ถือหุ้น คณะกรรมการบริษัท พนักงาน ลูกค้า คู่ค้า ผู้จำหน่าย และสมาชิกของชุมชนอย่างเอาจริงเอาจัง แล้วปัญหาร้ายแรงและผลกระทบต่างๆ ก็จะพบหนทางแก้ไข" ศาสตราจารย์ริชาร์ด เวลฟอร์ด ประธาน CSRAsia และผู้นำทางความคิดระดับภูมิภาคด้านความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) กล่าว
นายสุกิจ อุทธินธุ รองประธาน ฝ่ายงานความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กร (CSR) บริษัท ไมเนอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด ตั้งข้อสังเกตว่า "ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้ส่งสัญญาณที่ชัดเจนให้กับบริษัทต่างๆ โดยคาดหวังว่าบริษัทเหล่านั้นจะตระหนักถึงเรื่องของความรับผิดชอบขององค์กรต่อผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมมากขึ้น ดังนั้น ผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียกับประเด็นดังกล่าวจึงผลักดันให้บริษัทไทยนำประเด็นเหล่านี้เข้ามาจัดการกับธุรกิจหลักของตนตามแนวทางยุทธศาสตร์เชิงรุกทั้งในระดับประเทศและต่างประเทศ”
ในการแก้ไขปัญหาความไม่เท่าเทียมกันและการกีดกันที่เพิ่มขึ้นในภูมิภาคเอเชีย ศาสตราจารย์ริชาร์ด เวลฟอร์ดเน้นย้ำกับบริษัทต่างๆ ว่าสังคมที่มีเสถียรภาพและความสามัคคีก่อเป็นโครงสร้างของเศรษฐกิจที่เจริญรุ่งเรืองฉันใด สังคมนั้นเองก็มีความตั้งใจแน่วแน่ที่จะก่อร่างโครงสร้างดังกล่าวให้กับสังคมอื่นๆ ฉันนั้น "ให้คิดถึงโครงสร้างของการดำเนินธุรกิจที่จะผลักดันให้เกิดการขยายอาณาเขตเศรษฐกิจของบริษัทออกไปเพื่อให้ผู้ที่แต่เดิมอยู่ภายนอกอาณาเขตสามารถเข้าถึงและใช้บริการธุรกิจนั้นๆ ได้"
ตัวอย่างของโครงสร้างของการดำเนินธุรกิจอย่างครอบคลุมโดย มร. มูห์ทาร์ เคนท์ ประธานและประธานกรรมการบริหาร บริษัทโคคา-โคล่า ซึ่งเขาได้ให้คำมั่นต่อหน้าสาธารณะชนในปีพ.ศ. 2553 ว่า บริษัท ฯ จะช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางเศรษฐกิจโดยการผลักดันให้มีผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิงจำนวน 5 ล้านคนในเครือข่ายของบริษัทโคคา-โคล่าภายในปีพ.ศ. 2563 (หรือที่รู้จักกันในโครงการ 5by20) โครงการดังกล่าวได้รับความช่วยเหลือจากพันธมิตรที่มาจากหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐบาล ประชาสังคม ผู้เข้าร่วมโครงการที่เป็นผู้หญิง และภาคเอกชน นางกิลด้า แพทริเซีย ซี แมคกีแลน ผู้จัดการฝ่ายการพัฒนาเพื่อความยั่งยืนบริษัทโคคา-โคล่า ฟิลิปปินส์และดำรงตำแหน่งประธานและผู้นำโครงการ 5by20กล่าวว่า "ผู้หญิงทั่วโลกได้กลายเป็นเสาหลักของระบบธุรกิจของบริษัทโคคา-โคล่าไปแล้ว และเรากำลังสานต่อหลักการนั้นด้วยโครงการ 5by20 ที่จะช่วยให้ผู้ประกอบการที่เป็นผู้หญิงในห่วงโซ่ธุรกิจของบริษัทโคคา-โคล่า ตั้งแต่เกษตรกรจากไร่ผลไม้ไปจนถึงคนงานช่างฝีมือ วัตถุประสงค์ของเราคือการสร้างชุมชนที่ยั่งยืนด้วยน้ำมือและขีดความสามารถของผู้หญิง"
ทั้งนี้ จะมีเหล่าผู้เข้าร่วมอภิปรายกว่า 60 คน และผู้เข้าร่วมฟังการอภิปรายกว่า 500 คน ในงานประชุมสุดยอด CSR Asia Summit 2013 ที่กำลังจะจัดขึ้นในวันที่ 17-18กันยายน 2556 ณ กรุงเทพฯ ถือเป็นครั้งแรกในรอบ 4 ปีโดยภายในงานประชุมจะเผยถึงความท้าทายและโอกาสอันดีสำหรับภาคเอกชนในการขับเคลื่อนการเติบโตอย่างครอบคลุมและเท่าเทียมในภูมิภาคเอเชีย
สำหรับข้อมูลเพิ่มเติมกรุณาเยี่ยมชม http://csr-asia.com/summit2013/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น